บริการประชาชน
น้องโนรา
20.05
น้องโนรา
สวัสดีจ้า...วันนี้มีอะไรให้ช่วย ถามน้องโนรามาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ค่ะ
20.05
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำแหน่งที่ตั้งของทุ่งสงอยู่กึ่งกลางคาบสมุทรมีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน ทำให้ทุ่งสง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรในสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ และสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ ร่องรอยชุมชนโบราณ ที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่ตำบลหนองหงส์ สันนิษฐานว่าเส้นทางคาบสมุทรเส้นนี้เริ่มต้นจาก ปากแม่น้ำกันตัง กองเรือ สินค้าที่มาจากอินเดีย ลังกา หรือชาวตรัง จะล่องเรือเข้ามาตามแม่น้ำกันตัง ผ่านมาทางคลองท่าหลวง เข้าคลองวังหีบ คลองท่าเลา คลองท่าโหลน ขึ้นบกที่บริเวณวัดชัยชุมพลเมือง ทุ่งสงแล้วเดินทางเท้าเข้าอำเภอร่อนพิบูลย์ข้ามคลองเสาธง เข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช

ยุคสมัยนี้ทุ่งสงคงมีฐานะเป็นชุมชนไม่ขยายใหญ่โตขนาดเมืองมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทุ่งสงเจริญขึ้น เป็นลำดับจนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ.2440 เมืองแห่งนี้ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอำเภอ ขึ้น กับนครศรีธรรมราช คนเก่าเล่าว่า ชุมชนแรกของเมืองทุ่งสงตั้งอยู่บริเวณตลาดในริมคลองท่าเลาใกล้ ๆ บริเวณหอสมุดประชาชนเทศบาลเมืองทุ่งสงในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการสร้างทางรถไฟสายใต้โดยทางรถไฟ ซึ่งมีการสร้างและเปิดใช้งานเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาสำเร็จเสร็จสิ้นตลอดสายในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้เลือกทุ่งสง (ตำบลปากแพรก) เป็นสถานีชุมทางใหญ่ เป็นจุดรวมและจุดจ่ายรถไฟ แยกไปส่วนต่าง ๆ ของภาคใต้
การเป็นชุมทางรถไฟนี้ทำให้จุดศูนย์กลางของเมืองที่เคยอยู่บริเวณตลาดใน ย้ายไปอยู่ริมทางรถไฟและบริเวณโดยรอบเมืองทุ่งสงเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงและเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของจังหวัด เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองจากปัจจัยด้านการคมนาคม โดยเริ่มจากการเป็นชุมทางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟซึ่งมีผลให้เกิดการค้าและการบริการตามมา แม้ว่าในระยะหลังการเป็นชุมทางรถไฟจะลดบทบาท ความสำคัญ ลงบ้างเนื่องจากการเปิดเส้นทางการคมนาคมทางบกสายใหม่ ๆ หลังจากปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา ซึ่งทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนทางรถยนต์ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และติดต่อกับพื้นที่จังหวัด ทางฝั่งทะเลทางตะวันตกของภาคใต้ อีกด้วยเมืองศูนย์กลางการคมนาคม ชุมทางรถไฟการคมนาคมทางรถยนต์ที่สะดวกเป็นชุมทางรถยนต์ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และการติดต่อกับพื้นที่จังหวัดทางฝั่ง ทะเลทางตะวันตกของภาคใต้อีกด้วยนอกจากนี้ ชุมชนทุ่งสงยังเป็นที่ตั้งของส่วนราชการหลายหน่วยงานทั้งระดับเขตและระดับจังหวัดทำให้ชุมชนนี้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เสน่ห์ของเมืองทุ่งสงก็เป็นศูนย์กลางของอาหาร เลิศรสนานาชนิด ทำให้นักเดินทางต้องแวะชิมปัจจุบันทุ่งสงเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญและคึกคักไปด้วยผู้คนที่มาจากทั่วสารทิศ ตัวเมืองทุ่งสงตั้งอยู่ในเขตตำบลปากแพรก ถนนชนปรีดา ถือว่าเป็นเส้นทางการจราจร หลัก เพราะมีร้านค้าทั้งสองฟากถนน รวมพื้นที่ปัจจุบัน 7.17 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,481.25 ไร่ (ครอบคลุมพื้นที่เทศบาล เมืองทุ่งสงทั้งหมด) มีประชากร 30,429 คน (ข้อมูล ณ 31 พฤษภาคม2562 )
พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง ประกอบด้วย
ตำบลปากแพรกทั้งหมด เทศบาลเมืองทุ่งสงได้ กำหนดขอบเขตของเทศบาลไว้ดังนี้ คือ
ด้านทิศเหนือ
ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่เส้นเขตตำบลชะมาย และตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง ตัดกับเส้นเขตตำบลปากแพรก (เทศบาลเมืองทุ่งสง) เลียบเส้นเขตตำบลนาหลวงเสนด้านทิศใต้ไปทางทิศตะวันออก จดหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ ที่เส้นเขตตำบลนาหลวงเสน และตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง ตัดกับเส้น เขตตำบลปากแพรก
ด้านทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 2 เลียบเส้นเขตตำบลถ้ำใหญ่ ด้านตะวันตกไปทิศใต้ จดหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่เส้นเขตตำบลถ้ำใหญ่ ตัดกับเส้นเขตตำบลชะมาย
ด้านทิศใต้
จากหลักเขตที่ 3 เลียบเส้นเขตตำบลชะมายด้านตะวันออกไปทางทิศตะวันตก จดหลักเขต ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่เส้นเขตตำบลปากแพรก ตัดกับเส้นเขตตำบลชะมาย
ด้านทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 4 เลียบเส้นเขตตำบลชะมาย ด้านตะวันออกไปทางทิศเหนือไป บรรจบหลักเขตที่ 1
ลักษณะภูมิประเทศ
เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง มีสภาพเป็นที่ราบเชิงเขาและที่ราบหุบ เขา ซึ่งล้อมรอบด้วยทิวเขาสูงใหญ่ที่สำคัญคือ เทือกเขาหลวงและเขาเหมนที่เป็นต้นน้ำของสายน้ำขนาดเล็ก ต่าง ๆ ซึ่งไหลผ่านเขตพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง ได้แก่ คลองท่าเลา คลองตม คลองท่าแพและคลองท่าโหลน